วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556


"ท่านคิดว่า KM หรือ Knowledge Management มีผลต่อกลยุทธ์หรือกระบวนการสร้างกลยุทธ์ ของหน่วยงาน หรือ องค์กร อย่างไรบ้าง" 

1. การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน เทคนิคในการบริหารงานแบบเก่า เช่น 
การบริหารงานโดยรวม(TQM) การรีเอ็นจิเนียริ่ง(Re-engineering) เป็นเทคนิคที่ใช้ใน
การบริหารองค์กร แต่เทคนิค เหล่านี้ไม่สามารถพัฒนความชาญฉลาดขององค์กรได้ 
จึงได้นําการจัดการความรู้เข้ามาใช้
 
         2. ความเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด ในการแข่งขันทางด้านการตลาดเทคนิคการขาย
           เป็นสิ่งที่มีความสําคัญ ดังนั้นเพื่อให้  ลูกค้าพึงพอใจจึงต้องมีการพัฒนาฐานความรู้ในองค์กร
 
         3. ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด รวมถึงการลดขนาดองค์กร 
             เพื่อให้การทํางานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
         4. สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ช่วยให้องค์กรลดงบประมาณในการทํางานได้
 
         5. การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสําเร็จในองค์กร

  • ทำให้ KM ช่วยลดงาน ลดภาระ เพิ่มความสุขให้ได้ภายในองค์กร
  • หน่วยงานหรือผู้เข้าร่วมจะเริ่มเข้าใจคำว่า ความรู้ในคนหรือความรู้ปฏิบัติที่เป็นหัวใจของ KM และเห็นพลังของความรู้ในคน
  •  องค์กรผู้เข้าร่วมจะเห็นคุณค่าและเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น มีความมั่นใจในตนเองที่จะคิดทำงานแบบสร้างสรรค์ได้มากขึ้น
  •  ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาตนเองโดยการ เปิดใจและเมื่อทำบ่อย ๆ จะเป็นคนที่ ใจเปิดซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญในการเรียนรู้
  •  ผู้เข้าร่วมได้ฝึกการฟังแบบลึกซึ้ง หรือ Deep Listening ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการเป็นบุคคลเรียนรู้
  • ผู้บริหารต้องทำ change management ไปสู่วัฒนธรรมเรียนรู้ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ใช้การเปลี่ยนแปลงนั้นเองทำให้เกิดความคึกคัก ความสุข และความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นในระหว่างพนักงานทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคารพและเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน


วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติ บุญชัย เบญจรงคกุล เจ้าของ ดีแทค (DTAC)



''บุญชัย เบญจรงคกุล'' เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2493 เป็นบุตรชายคนโตของคุณพ่อสุจินต์ และคุณแม่กาญจนา โดยมีน้องชาย - หญิง 3 คน คือ วรรณา (จิรกิติ), สมชาย และวิชัย เริ่มต้นธุรกิจบทแรก โดยเข้าสืบสานงานที่บริษัทขายเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งคุณพ่อได้วางรากฐานการทำงานเอาไว้ให้ และได้อาศัยรากฐานนั้นพัฒนา ฝ่าฟันจนบริษัทยูไนเต็ด คอมมูนิเคชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในนาม ''ยูคอม'' ก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์สื่อสารหนึ่งในสี่ของประเทศไทย และเคยเป็นเจ้าของธุรกิจมือถือแทค หรือดีแทค ในปัจจุบัน ก่อนที่จะขายให้กลุ่มเทเลนอร์ จากประเทศนอร์เวย์ อีกทั้งยังได้รับการจัดอันดับเป็นเศรษฐีไทยอันดับที่ 13 ด้วยจำนวนเงินที่มีถึง 990 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 29,700 ล้านบาท

ภายใต้ความสำเร็จทางธุรกิจดังกล่าว เจ้าสัวบุญชัย เบญจรงคกุล ไม่เคยละทิ้งปรัชญา และอุดมการณ์อันมุ่งมั่นที่จะทำประโยชน์ให้กับชาติบ้านเมือง โดยเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด และมีบทบาทในองค์กรเพื่อสังคมหลายแห่ง อาทิ มูลนิธิวัดยานนาวา, มูลนิธิประชาร่วมใจ, มูลนิธิวัดราชสิงขร, มูลนิธิวัดลาดบัวขาว, มูลนิธิอนุรักษ์นกเงือกและป่าโซนร้อน, มูลนิธิเบญจรงคกุล, มูลนิธิยูคอม และโครงการพัฒนายุวสตรีชาวเหนือ ในจังหวัดพะเยา โดยให้ความสำคัญกับการสนับสนุนด้านการศึกษาเป็นหลัก 
 
นอกจากนี้ เจ้าสัวบุญชัย ยังเป็นผู้ที่ชื่นชมงานศิลปะเป็นอย่างยิ่ง โดยหลังจากแขวนนวมธุรกิจเขาได้ออกไปใช้ชีวิตได้ทำในสิ่งที่ใจรักด้วยการสร้าง ''พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย'' (MOCA) ซึ่งรวบรวมผลงานของศิลปินไทยมากกว่า 200 คน ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่โด่งดังและมีคุณค่าระดับประเทศ
 
อย่างไรก็ตามชีวิตความรักของ ''เจ้าสัวบุญชัย'' ถือว่าเป็นนักรักที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เคยผ่านการสมรสมาแล้วถึง 5 ครั้ง ได้แก่ วาสนา, วรรณา, เบญจมาศ และภรรยา ที่อยู่ในแวดวงบันเทิงได้แก่ สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์ และ เบญจา บารมีย์ โดยมีทายาทบุตรสาว 3 คน และบุตรชาย 2 คน โดยมี ''ตั๊ก'' บงกช คงมาลัย จึงเป็นคนรักที่กำลังจะจดทะเบียนคนที่ 6 ของเจ้าสัวบุญชัย

"หากชีวิตคือการเรียนรู้ การได้ศึกษาประวัติของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสูง ก็เป็นการเรียนทางลัดที่วิเศษหนทางหนึ่ง"